สรุปสาระสำคัญ พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย

6749 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สรุปสาระสำคัญ พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย

พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ 4 มีนาคม 2559 ถือได้ว่าเป็นการจัดระเบียบรปภ.ทั่วประเทศให้เข้ามาสู่กฎหมายอย่างถูกต้องและชัดเจน

โดยในขณะนั้น พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการกำกับธุรกิจรักษาความปลอดภัยได้เล็งเห็นถึงการวางมาตรฐานของธุรกิจรักษาความปลอดภัย จึงได้มีการประชุมและชี้แจ้งความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวช้อง โดยมี พล.ต.อ.สุวิระ ทรงเมตตา ที่ปรึกษา สบ.10 เป็นประธานการประชุมและชี้แจงความเข้าใจให้กับทางผู้บังคับการตำรวจภูธรทั้ง 76 จังหวัด ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1-9 และเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 400 นาย มารับฟังชี้แจง อำนาจหน้าที่ และแนวทางการปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วประเทศ

พล.ต.อ.สุวิระ ทรงเมตตา กล่าวในที่ประชุมถึงเหตุผลในการประกาศใช้กฎหมายคือธุรกิจการให้บริการรักษาความปลอดภัยนั้นมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน และส่งผลต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม ในปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจการให้บริการรักษาความปลอดภัยเป็นจำนวนมาก แต่มีมาตรฐานในการประกอบธุรกิจที่แตกต่างกัน สมควรกำหนดมาตรฐานของธุรกิจรักษาความปลอดภัย และมาตรฐานของพนักงานรักษาความปลอดภัย
เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานธุรกิจรักษาความปลอดภัย และเสริมสร้างศักยภาพของพนักงานรักษาความปลอดภัยอันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ และช่วยเสริมสร้างความสงบเรียบร้อยของสังคม จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

ทาง BODYGUARD VIP THAILAND จึงขอสรุปสาระสำคัญของ พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 มาเพื่อเป็นความรู้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจรักษาความปลอดภัย และผู้ปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัย เพื่อยกระดับการให้บริการและการปฏิบัติหน้าที่ให้ได้มาตรฐานและถูกต้องตามกฎหมาย

โดย พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 มีทั้งหมด 76 มาตรตรา มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ 4 มีนาคม 2559 Click Here >> ไฟล์พระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 

สาระสำคัญ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัย
มาตรา ๑๖ ผู้ประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยต้องเป็นบริษัท และได้รับ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยจากนายทะเบียน
• หากประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา ๕๕) ซึ่ง กฎหมายบัญญัติว่า ผู้ใดประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยโดยไม่ได้รับอนุญาต
• มาตรา ๑๗ บริษัทซึ่งขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยต้อง
(๑) มีจํานวนหุ้นที่ถือโดยบุคคลผู้มีสัญชาติไทยเกินกึ่งหนึ่งของทุนจดทะเบียนของบริษัท จํากัดหรือทุนชําระแล้วของบริษัทมหาชนจํากัด แล้วแต่กรณี
(๒) มีกรรมการซึ่งเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด ทั้งนี้
• กรรมการทั้งหมดของบริษัทต้องไม่เคยเป็นกรรมการหรือผู้มีอํานาจจัดการแทนบริษัท ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัย
(๓) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัย
• มาตรา ๒๐ บริษัทรักษาความปลอดภัยต้องใช้คํานําหน้าชื่อว่า “บริษัทรักษาความปลอดภัย”และคําว่า “จํากัด” หรือ “จํากัด (มหาชน)” ต่อท้าย แล้วแต่ กรณี
• มาตรา ๒๑ ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากบริษัทรักษาความปลอดภัยใช้ชื่อหรือคํา แสดงชื่อในธุรกิจว่า “บริษัทรักษาความปลอดภัย” หรือคําอื่นใดที่มี ความหมายเช่นเดียวกัน
• หากฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และปรับอีกไม่ เกินวันละห้าพันบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่ าฝืนอยู่ (มาตรา ๕๖)
• ผู้ใดใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อในธุรกิจว่า “บริษัทรักษาความปลอดภัย”หรือคําอื่น ใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี ใช้บังคับ ให้ บุคคลนั้นเลิกใช้ชื่อหรือคําแสดงชื่อดังกล่าวภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ พระราชบัญญัตินี ใช้บังคับ (มาตรา ๗๖)
• มาตรา ๒๕ การทําสัญญาในการรับจ้าง
• มาตรา ๒๖ มาตรฐานรักษาความปลอดภัย
• มาตรา ๒๗ ในการให้บริการรักษาความปลอดภัย ให้บริษัทรักษาความปลอดภัยจัด พนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตเป็นผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ ว่าจ้าง
• การฝ่าฝืนตามมาตรา ๒๗ มีโทษตามมาตรา ๕๙
• มาตรา ๕๙ บริษัทรักษาความปลอดภัยใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๗ ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
• ในกรณีที่บริษัทรักษาความปลอดภัยใดกระทําความผิดตามมาตรานี้กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของบริษัทรักษาความปลอดภัย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ต่อเมื่อการกระทําความผิดของบริษัทรักษาความปลอดภัยนั้นเกิดจากการสั่งการหรือ การกระทําของกรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลนั้น หรือไม่สั่งการหรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลนั้น
• มาตรา ๒๘ บริษัทรักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ให้ความร่วมมือแก่ตํารวจซึ่งมี ยศตั้งแต่ร้อยตํารวจตรีขึ้นไปที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าสถานีตํารวจใน ท้องที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทรักษาความปลอดภัยหรือสถานที่ที่บริษัทรักษาความปลอดภัยนั้นรับผิดชอบรักษาความปลอดภัย ตามข้อกําหนดในสัญญาจ้างในการขอเข้าตรวจดูข้อมูลบันทึกเหตุการณ์ประจําวันเกี่ยวกับการรักษา ความปลอดภัยภายในบริเวณหรือสถานที่ที่รับผิดชอบรักษาความปลอดภัย ดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการวางแผนจัดการรักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน
• การฝ่าฝืนมาตรา ๒๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท (มาตรา ๖๐)
• มาตรา ๓๑ ให้บริษัทรักษาความปลอดภัยจัดทํารายงานผลการดําเนินงาน ของบริษัทในรอบปีที่ผ่านมา ยื่นต่อนายทะเบียนภายในเดือนมกราคมของปี ถัดไป ทั้งนี้ตามแบบและวิธีการที่นายทะเบียนกลางประกาศกําหนด

สาระสำคัญ สำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัย
1.มีสัญชาติไทย
2.มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
3.สำเร็จการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
4.ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสือรับรองว่าได้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยจากสถานฝึกอบรมที่คณะกรรมการรับรอง

ลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัย
1.เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็นโรคติดต่อที่คณะกรรมการกำหนด
2.เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
3.เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
4.เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
5.เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยมาแล้วยังไม่ถึงสองปีนับถึงวันที่ยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย

จึงเห็นได้ว่าในการประกาศใช้กฎหมายคือธุรกิจการให้บริการรักษาความปลอดภัยนั้นมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน รวมไปถึงความสงบเรียบร้อยในสังคม ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจการให้บริการรักษาความปลอดภัยเป็นจำนวนมาก แต่มีมาตรฐานในการประกอบธุรกิจที่แตกต่างกัน สมควรกำหนดมาตรฐานของธุรกิจรักษาความปลอดภัย และมาตรฐานของพนักงานรักษาความปลอดภัย
เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานธุรกิจรักษาความปลอดภัย และช่วยเสริมสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ และช่วยเสริมสร้างความสงบเรียบร้อยของสังคม จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ทางกฎหมาย

ซึ่งทาง BODYGUARD VIP THAILAND เป็นแบรนด์บริษัทบอดี้การ์ดภายใต้การดูแลของ บริษัทรักษาความปลอดภัย แม็กเนท จำกัด ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยอย่างถูกต้องเป็นที่เรียบร้อย ดังนั้นลูกค้าจึงมั่นใจได้ว่าท่านจะได้รับการบริการงานด้านการรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐานโดยทีมบอดี้การ์ดมืออาชีพและถูกต้องตามกำหนดพระราชบัญญัติรักษาความปลอดภัย

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ทีมแอดมิน BODYGUARD VIP THAILAND

บริษัทรักษาความปลอดภัย แม็กเนท จำกัด
MAGNATE SECURITY GUARD Co., Ltd.

TEL : 0616878888
TEL : 0911588888

LINE : @bodyguardvipth
IG : @bodyguardvipthailand
FB : @bodyguardvipthailand
TikTok : @bodyguardvipthailand

WEB : https://www.bodyguardvipthailand.com

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้