ธภ.7 คืออะไร? ใบอนุญาตพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต

23210 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ธภ.7 คืออะไร? ใบอนุญาตพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต

ธภ. 7 คืออะไร?

”ธภ. 7 คือใบอนุญาตพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต“ ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจด้านรักษาความปลอดภัยมีกฎหมายที่เข้ามากำกับดูแลนั่นคือ พ.ร.บ. ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558 กฎหมายนี้ช่วยให้ธุรกิจรักษาความปลอดภัยมีมาตราฐาน เพิ่มศักยภาพในตัวพนักงานรักษาความปลอดภัย และช่วยเพิ่มความมั่นใจเชื่อถือแก่ผู้มาใช้บริการได้ ใครก็ตามที่จะทำหน้าที่ด้านรักษาความปลอดภัยต้องมีใบอนุญาต ใบนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต หรือเรียกสั้นๆ ว่า ธภ.7


***ภาพตัวอย่างเอกสารใบอนุญาต ธภ.7 เพื่อใช้สำหรับประกอบเนื้อหาบทความเท่านั้น*** 

 

การที่จะได้ ธภ.7 มา ต้องผ่านคุณสมบัติเหล่านี้
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
3. สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่สำเร็จการศึกษา
4.ได้รับหนังสือรับรองว่าได้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยจากสถานฝึกอบรมที่นายทะเบียนกลางรับรอง
 
ลักษณะต้องห้ามของพนักงานรักษาความปลอดภัย มีดังนี้

1. เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติดให้โทษหรือเป็นโรคติดต่อที่
คณะกรรมการกำหนด
2. เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟันเฟือนไม่สมประกอบ คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
3. เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกสำหรับความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หรือความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน หรือความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือพันโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันขอรับใบอนุญาตและมิใช่ความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวลกฎหมายอาญา


การฝึกอบรมเพื่อรับใบอนุญาต ธภ.7 
การที่จะได้รับใบอนุญาต ธภ.7 พนักงานรักษาความปลอดภัยจะต้องผ่านการฝึกอบรมในสถานฝึกอบรมที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีระยะเวลาฝึกไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมง แบ่งเป็น ภาคทฤษฎี 16 ชั่วโมง ภาคปฏิบัติ 24 ชั่วโมง วิชาอบรมมีดังนี้
 
• ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจรักษาความปลอดภัย (ทฤษฎี 2 ชั่วโมง)
• กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย (ทฤษฎี 2 ชั่วโมง)
• การรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน (ทฤษฎี 3 ชั่วโมง ปฏิบัติ 4 ชั่วโมง)
• การเขียนรายงาน (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง ปฏิบัติ 1 ชั่วโมง)
• การเตรียมพร้อมกรณีเหตุฉุกเฉิน (ทฤษฎี 2 ชั่วโมง ปฏิบัติ 3 ชั่วโมง)
• การติดต่อสื่อสาร (ทฤษฎี 1ชั่วโมง ปฏิบัติ 1 ชั่วโมง)
• หลักการใช้กำลัง (ทฤษฎี 2 ชั่วโมง ปฏิบัติ 2 ชั่วโมง)
• การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (ทฤษฎี 2 ชั่วโมง ปฏิบัติ 2 ชั่วโมง)
• การจัดการจราจร (ทฤษฎี 1 ชั่วโมง ปฏิบัติ 2 ชั่วโมง)
• การฝึกภาคสนาม (ปฏิบัติ 9 ชั่วโมง)
 
เมื่อได้รับการฝึกทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติครบแล้วและมีคุณสมบัติครบถ้วนตามพ.ร.บ. กำหนด จะได้หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมใบ ธภ.12 จากสถาบันฝึก โดยนำ ธภ.12 ยื่นพร้อมใบ ธภ.6 ที่นายทะเบียน หลังจากนั้นรอดำเนินการเพื่อรับใบ ธภ.7 และแบบย่อที่บริษัทออกให้ไว้พกพาไว้สำหรับพกติดตัวขณะปฏิบัติงาน เวลามีเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบก็สามารถยื่นแสดงได้ทันที 
 
พนักงานรักษาความปลอดภัยที่ได้ ธภ.7 แล้ว จะสามารถประดับเครื่องหมายโล่บนหน้าอกซ้ายได้ หรือที่เรียกกันว่า เข็ม พปร.

ภาพตัวอย่างเข็ม พปร. 

พนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต

ใบ ธภ.7 มีวันหมดอายุหรือไม่?
ใบ ธภ.7 มีอายุ 3 ปี นับตั้งแต่วันอนุญาต ถ้าต้องการต่ออายุ ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตต่อนายทะเบียน พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้ ภายใน 60 วัน ก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ

1. สำเนาใบอนุญาตเดิม หรือสำเนาใบแทนใบอนุญาต

2. เอกสารและหลักฐานตามที่กำหนด คือ
-สำเนาบัตรประชาชน
-สำเนาทะเบียนบ้าน
-ใบรับรองแพทย์ว่าไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็นโรคติดต่อที่คณะกรรมการกำหนด

3. หนังสือรับรองจากบริษัทรักษาความปลอดภัยที่ตนสังกัดในเรื่องสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือหนังสือรับรองว่าได้ผ่านการฝึกทบทวนหลักสูตรการ รักษาความปลอดภัยจากสถานฝึกอบรมที่นายทะเบียนกลางรับรอง
 
พนักงานรักษาความปลอดภัยที่ไม่มี ธภ.7 จะมีโทษจำคุกไม่เดือน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท

สรุป ความหมายของ ธภ.12, ธภ.6 และ ธภ.7

ธภ.12 คือ หนังสือรับรองการฝึกอบรมหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยจากสถานฝึกอบรมรับอนุญาต ที่นายทะเบียนกลางรับรอง

ธภ.6 คือ คําขอรับใบอนุญาตเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต

ธภ. 7 คือ ใบอนุญาตพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต

ข้อดีของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่มีใบ ธภ.7
•ได้รับการฝึกการรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานอย่างมีมาตรฐานเพื่อนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
•ใบ ธภ.7 เปรียบเสมือนใบประกอบวิชาชีพด้านการรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐานรองรับ เป็นที่น่าเชื่อถือและสามารถนำไปประกอบการสมัครงานสาขาอาชีพรักษาความปลอดภัยได้อย่างถูกต้องตามพระราชบัญญัติรักษาธุรกิจความปลอดภัย

เอกสารที่ต้องเตรียมในการยื่นรับการฝึก ธภ. 7 มีดังนี้

1 สำเนาทะเบียนบ้าน
2 สำเนาบัตรประชาชน
3 สำเนาวุฒิการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ
4 ใบรับรองแพทย์
5 รูปถ่ายปัจจุบันไม่เกิน 6 เดือน ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป

วันฝึกแนะนำสวมชุดที่คล่องตัว เช่น เสื้อโปโล + กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น ก่อนมาฝึกพักผ่อนให้เพียงพอ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

***หากมีโรคประจำตัว หรือยาที่ต้องใช้ประจำต้องแจ้งให้ทราบก่อนฝึก***


จึงเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัยนี้ให้ความสำคัญในด้านมาตรฐานของบริษัทรักษาความปฃอดภัยและบุคลากรเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและดำรงค์ไว้ซึ่งมาตรฐานที่วางไว้ ผู้ที่ประกอบอาชีพรักษาความปลอดภัยจึงต้องมีใบ ธภ.7 นี้ ซึ่งเปรียบเสมือนใบประกอบวิชาชีพด้านการรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน ซึ่งเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมแล้ว ยังสามารถนำไปต่อยอดในการประกอบอาชีพรักษาความปลอดภัยอย่างเต็มตัว

 

BODYGUARD VIP THAILAND เราให้ความสำคัญในมาตรฐานของบุคลากรที่ต้องการเข้ามาร่วมงานกับทางบริษัท ซึ่งต้องมีใบอนุญาต ธภ.7 และได้รับการฝึกการอารักขาบุคคลสำคัญมาแล้ว เพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ดีที่สุดอย่างมีมาตรฐานจากเรา

สำหรับท่านที่สนใจเข้ารับการฝึกการอารักขาบุคคลสำคัญและรับการฝึกเพื่อรับใบ ธภ.7 กับสถาบันฝึกที่ได้รับการรับรองและมีใบอนุญาตอย่างถูกต้อง ติดต่อที่ LINE : @bodyguardvipth

เรียบเรียงเนื้อหาบทความโดย : ADMIN789 BODYGUARD VIP THAILAND

ภาพส่วนหนึ่งการฝึกรับใบอนุญาต ธภ.7 ของทางเรา ฝึกโดยสถาบันฝึกอบรมที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง นำทีมการฝึก ธภ.7 โดย พันตรี ปิยะเจตน์ มีเดช

(ภาพการฝึกเพื่อรับใบอนุญาต ธภ.7 เท่านั้น ดูการฝึก VIP PROTECTION การอารักขาบุคคลสำคัญ Click Here)

ฝึก ธภ.7

ฝึก ธภ.7

ฝึก ะภ.7

ฝึก ธภ.7

ฝึก ธภ.7

ธภ7

ธภ7

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ADMIN789 BODYGUARD VIP THAILAND

 

***ห้ามนำรูปภาพไปใช้ดดยไม่ได้รับอนุญาต ลิขสิทธิ์โดย Bodyguard VIP Thailand***

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้